วันจันทร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2564

ส่วนที่ 2 การวิเคราะห์ข้อมูล

 ส่วนที่  2 การวิเคราะห์ข้อมูล

                  2.1  การวิเคราะห์ปัจจัยภายในหรือสภาพแวดล้อมภายใน จะทำให้หมู่บ้านทราบถึงความสามารถหรือความเป็นตัวตนของหมู่บ้าน
          (1) จุดอ่อนคือ ลักษณะหรือข้อด้อยของหมู่บ้านเมื่อเทียบกับหมู่บ้านอื่น
                   -  เส้นทางคมนาคมไม่สะดวก

                   -  ประชาชนมีหนี้สินนอกระบบ

                   -  การศึกษายังอยู่ในระดับต่ำ

                        •ด้านเศรษฐกิจ

-  รายได้ของครัวเรือนไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย

-  ประชาชนไม่มีการวางแผนในการดำเนินชีวิต

-  ประชาชนขาดความรู้ในการบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นที่ให้เกิดประโยชน์                                

•ด้านสังคม

            - เยาวชนในหมู่บ้านส่วนใหญ่นิยมตามกระแสมากขึ้น

          - ผู้สูงอายุบางคนจะไม่ค่อยให้ความร่วมมือกับสังคม

 

•ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

          -  เกษตรกรขาดความรู้ในการดูแลในพืชต่างๆ เพื่อเพิ่มผลผลิต ขาดความรู้ในเรื่องการจัดการ                   เพื่อให้มีรายได้เพิ่ม

 

•ด้านการเมืองและบริหารจัดการ

          - ประชาชนไม่เข้าใจเรื่องระบบประชาธิปไตย  ส่วนใหญ่จะตัดสินใจตามผู้อื่น  ไม่กล้าแสดง                     ความคิดเห็น

 

•   ด้านโครงสร้างพื้นฐาน

          -  ในหมู่บ้านยังมีถนน(ซอยต่างๆ)ที่เป็นดินแดง ดินลูกรัง ทำให้การสัญจรไปมาไม่สะดวก                                       โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน

•ด้านการเมืองและการบริหารจัดการ

                             -  ประชาชนในหมู่บ้านขาดความรู้ในเรื่องประชาธิปไตย ไม่กล้าแสดงออก  ไม่กล้าตัดสินใจเอง                          ชอบตามผู้อื่น

•   ด้านสาธารณสุข

          -  ในช่วงฤดูฝนประชาชนในหมู่บ้านต้องพบกับปัญหาการแพร่ระบาดของโรค

          -  ประชาชนไม่ค่อยใสใจในเรื่องขยะ  ทิ้งขยะไม่เป็นที่

          -  ประชาชนไม่ค่อยให้ความสำคัญกับความสะอาดบริเวณบ้าน

           (2) จุดแข็ง คือ ศักยภาพความสามารถหรือข้อเด่นของหมู่บ้านเมื่อเทียบกับหมู่บ้านอื่น
                                    มีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์(ป่าพรุโต๊ะแดง)

                             ตั้งอยู่ใกล้ตัวเมืองเศรษฐกิจและเมืองชายแดนระหว่างไทยกับมาเลเซีย

                   -  เป็นประตูผ่านเข้า-ออกแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญระดับประเทศ (ป่าพรุโต๊ะแดง)

                   -  เป็นเส้นทางคมนาคมระหว่างอำเภอสุไหงปาดีและอำเภอสุไหงโก-ลก

                   -  ประชาชนมีการประกอบอาชีพที่หลากหลาย

                   -  ประชาชนพูดได้ 2 ภาษา คือภาษามลายูท้องถิ่น และภาษาไทย

                             -  มีหน่วยกำลังรักษาความปลอดภัยในพื้นที่ที่เข้มแข็ง

                        •   ด้านเศรษฐกิจ

                    ชุมชนได้พัฒนาตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  กิจกรรมที่ดำเนินการของกลุ่มต่างๆ                        ดำเนินการตามแนวทางพอเพียงเพิ่มรายได้  และลดรายจ่าย

                    -  สนับสนุนให้ประชาชนในพื้นที่รู้จักการแปรรูปแป้งสาคู 

                    -  ส่งเสริมอาชีพเย็บจากปาล์มสาคู  เพื่อเพิ่มรายได้ 

                    -  ส่งเสริมการปลูกผักผสมผสาน

•ด้านสังคม

          -  เด็กและเยาวชนส่วนใหญ่กระตือรือร้น  และเอาใจใส่ด้านการศึกษามากขึ้น

          -  เยาวชนให้ความร่วมมือในกิจกรรมต่างๆ มากยิ่งขึ้น

 

•ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

          -  ในหมู่บ้านมีคลองชลประทาน ส่งผลให้มีแหล่งน้ำสำหรับทำการเกษตร

 

•ด้านการเมืองและการบริหารจัดการ

          -  ประชาชนมีความรัก ความสามัคคี

          -  ประชาชนช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

          -  ประชาชนให้ความร่วมมือในกิจกรรมต่างๆของหมู่บ้าน

•   ด้านโครงสร้างพื้นฐาน

                             ระบบสาธารณูปโภคของหมู่บ้านโดยส่วนใหญ่มีความพร้อม และสามารถสร้างความเป็นอยู่ที่ดี              เพิ่มมากยิ่งขึ้นรวมทั้งช่วยส่งเสริมให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นตามมา

•   ด้านสาธารณสุข

ประชาชนรู้จักวิธีการกำจัดขยะมูลฝอย หน่วยงานสาธารณสุขเข้าถึงในพื้นที่         

2.2 การวิเคราะห์ปัจจัยภายนอก หรือสภาพแวดล้อมภายนอก จะทำให้หมู่บ้านทราบถึงโอกาสและอุปสรรคการทำงานของหมู่บ้าน
                        (1) โอกาส
                                    -  เป็นแหล่งพักสินค้า ค้าขายระหว่างไทยกับมาเลเซีย

                             -  รวมกลุ่มจำหน่ายสินค้าชุมชนให้กับนักท่องเที่ยว

                             -  พัฒนาหมู่บ้านเป็นแหล่งท่องเทียวเชิงเศรษฐกิจพอเพียง

(2) อุปสรรค
                   
-  ขาดบุคลากรที่มีความรู้ในการพัฒนาหมู่บ้าน

          -  ราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ

 

2.3 วิสัยทัศน์(ทิศทางการพัฒนา)
                        ส่งเสริมอาชีพ  กระจายรายได้  มุ่งสู่หมู่บ้านเข้มแข็ง  ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

 

2.4 ยุทธศาสตร์

                                   ยุทธศาสตร์ที่ ๑  เสริมสร้างการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ตามแนว                              หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 

                             ยุทธศาสตร์ที่ ๒  ส่งเสริมการพัฒนาแบบมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ตามแบบ                  ระบอบประชาธิปไตย

                             ยุทธศาสตร์ที่ ๓ ส่งเสริมอาชีพและกระจายรายได้ในพื้นที่หมู่บ้าน

2.5 กลยุทธ์ 

          กลยุทธ์ที่ ๑  ประกอบด้วย  ๓  กลยุทธ์
                                              ๑. เสริมสร้างศักยภาพด้านอาชีพที่มีความมั่งคง

                             ๒. เสริมสร้างศักยภาพการพึ่งพาตนเอง  ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

                             ๓. ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่

                   เป้าประสงค์ = ประชาชนในพื้นที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น  สามารถพึ่งพาตนเองได้

 

          กลยุทธ์ ๒  ประกอบด้วย  ๓  กลยุทธ์

                             ๑. การเสริมสร้างศักยภาพผู้นำในพื้นที่  ตามระบอบประชาธิปไตย

                             ๒. การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่

                             ๓. การเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ ในการปกครองระบอบประชาธิปไตย

          เป้าประสงค์= ประชาชนในหมู่บ้านมีความเข้าใจในระบอบประชาธิปไตย  และรู้จักหน้าที่ของตนเอง

          กลยุทธ์ ๓  ประกอบด้วย  ๓  กลยุทธ์

                             ๑. เสริมสร้างศักยภาพด้านการเกษตร  ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

                             ๒. การพัฒนาและการเพิ่มมูลค่าสินค้าทางการเกษตร

                             ๓. การเสริมสร้างความรู้  และการพัฒนาด้านอาชีพอย่างยั่งยืน

                   เป้าประสงค์= ประชาชนในหมู่บ้านมีรายได้เพิ่มมากขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของหมู่บ้าน

  ส่วนที่ 1   ข้อมูลทั่วไปของหมู่บ้าน   ๒. ประวัติหมู่บ้าน           ประวัติความเป็นมา “ ลูโบ๊ะซามา ” เป็นชื่อหมู่บ้านหรือ “ กำปง ” ท...