วันอังคารที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2564

ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของหมู่บ้าน

 

ส่วนที่ 1  ข้อมูลทั่วไปของหมู่บ้าน

 ๒. ประวัติหมู่บ้าน

          ประวัติความเป็นมา

ลูโบ๊ะซามา เป็นชื่อหมู่บ้านหรือ กำปงที่ตั้งขึ้นโดยบรรพบุรุษในสมัยก่อน ที่ได้อพยพมาจากแหลมมลายู                  เข้ามาปักหลักในเขตประเทศไทย เพื่อประกอบอาชีพ ทำนา เนื่องจากสภาพพื้นที่ของหมู่บ้านลูโบ๊ะซามาในสมัยก่อน             เป็นที่ราบลุ่มและบึงใหญ่และลึก อยู่ 2 แห่ง  

ลูโบ๊ะ  หมายถึง   บึง  ซามา  หมายถึงน้ำพริก  (บึงน้ำพริก)  จึงกลายเป็นบ้านลูโบ๊ะซามา จนมาถึงทุกวันนี้  บ้านลูโบ๊ะซามา  เดิมอยู่ที่หมู่ที่ ๒ ตำบลปาเสมัส  และได้รับการประกาศจัดตั้งหมู่บ้านใหม่  จากกระทรวงมหาดไทย กรมการปกครอง เมื่อวันที่    ธันวาคม  พ.ศ. ๒๕๔๘  มาเป็นบ้านลูโบ๊ะซามา  หมู่ที่ ๘  ตำบลปาเสมัส  อำเภอสุไหงโก-ลก             จังหวัดนราธิวาส

โต๊ะสะแลแม  เป็นบุคคลที่ชาวบ้านเคารพนับถือและเป็นที่พึ่งในยามเจ็บป่วย เนื่องจากโต๊ะสะแลแม                      เป็นหมอชาวบ้านมีความรู้ทางไสยศาสตร์ มีความเชื่อกันว่าสามารถรักษาคนเจ็บไข้ได้ทุกประเภท จึงเป็นที่มาของชื่อ                     โต๊ะสะแลแม ซึ่งหมายถึง ผู้นำที่ยิ่งใหญ่  ผู้รอบรู้  ผู้ครองเมืองในสมัยก่อนชาวบ้านประกอบอาชีพทำนา ทำไร่ เมื่อถึงคราวเก็บเกี่ยวทุกคนต่างช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ข้าวปลา อาหารต่างๆแทบไม่ต้องซื้อ โดยเฉพาะพื้นที่ตรงนี้ ปลาชุกชุมมาก                     มีเรื่องเล่าต่อๆกันมาว่ามียายหลานคู่หนึ่งไปหาปลา และได้นำเสบียงอาหารใส่ห่อเพื่อไปรับประทาน เมื่อมาถึงบึงใหญ่                    ทั้งคู่ก็เริ่มตกปลาไปเรื่อยๆ จนกระทั้งเที่ยง เริ่มหิวข้าว จึงแกะห่อข้าวซึ่งมีถุงน้ำพริกอยู่ ยังไม่ทันจะกินถุงน้ำพริกก็หล่น                   ลงในบึงแห่งนี้ จึงพากันกลับบ้านและยายได้เล่าเหตุการณ์ให้โต๊ะสะแลแมฟัง หลังจากนั้นเป็นต้นมา   เมื่อยายออกไปหาปลา โต๊ะสาแลแมก็มักจะพูดว่าไปตกปลาที่ ลูโบ๊ะซามา  จึงเรียกกันติดปากว่า   ลูโบ๊ะซามามาถึงทุกวันนี้

 

3. พื้นที่ทั้งหมด  ๒๐,๓๐๐ ไร่  หรือ  ๑๓  ตารางกิโลเมตร

 

4.  อาณาเขต

     บ้านลูโบ๊ะซามา ตั้งอยู่ในตำบลปาเสมัส  อำเภอสุไหงโก-ลก  จังหวัดนราธิวาส ห่างจากอำเภอสุไหงโก-ลก                 ไปทางทิศเหนือ  ประมาณ    กิโลเมตร  ห่างจากจังหวัดนราธิวาส ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้   กิโลเมตร                   มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้

          ทิศเหนือ          ติดต่อกับ         หมู่ที่    บ้านตือระ ต.ปาเสมัส อ.สุไหงโก-ลก 

                    ทิศใต้             ติดต่อกับ         หมู่ที่    บ้านกวาลอซีรา  ต.ปาเสมัส อ.สุไหงโก-ลก 

                    ทิศตะวันออก     ติดต่อกับ         หมู่ที่    บ้านมือบา ต.ปาเสมัส อ.สุไหงโก-ลก 

                   ทิศตะวันตก      ติดต่อกับ         หมู่ที่    บ้านลูโบ๊ะกง ต.ปาเสมัส อ.สุไหงโก-ลก 

5. ลักษณะภูมิประเทศ

          มีสภาพภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน  มี    ฤดู  คือ  ฤดูร้อน  เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธุ์  ถึง  เดือนพฤษภาคม  และฤดูฝน  เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน  ถึง เดือนกรกฎาคม  ปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ย  ๘.๙  มิลลิเมตร/ปี

 

6. จำนวนประชากรรวมทั้งสิ้น  ๑,๕๕๓ คน แยกเป็น  ชาย  ๗๔๗  คน  หญิง  ๘๐๖  คน

          6.1  ผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปี บริบูรณ์ขึ้นไป ) รวมทั้งสิ้น ๑๑๐ คน แยกเป็น ชาย  ๔๗  คน  หญิง  ๖๓  คน

          6.2  คนพิการ   รวมทั้งสิ้น  ๓๐  คน แยกเป็น  ชาย  ๑๑  คน  หญิง  ๑๙  คน

 

7. จำนวนครัวเรือน  ๒๖๕  ครัวเรือน

 

8. การประกอบอาชีพ

     8.1 อาชีพหลักของครัวเรือน

          8.1.1 อาชีพ  รับจ้างทั่วไป         จำนวน  ๑๖๗   ครัวเรือน

8.1.2 อาชีพ  ทำสวน              จำนวน     ๖๓   ครัวเรือน

          8.1.3 อาชีพ  ค้าขาย              จำนวน     ๒๕   ครัวเรือน

          8.1.4 อาชีพ  ข้าราชการ          จำนวน     ๑๐   ครัวเรือน

  8.2 อาชีพเสริมหรืออาชีพรอง

8.2.1 อาชีพ เย็บตับจากสาคู      จำนวน  ๒๗     ครัวเรือน

          8.2.2 อาชีพ หาของป่า            จำนวน  ๑๒     ครัวเรือน

         

9. ผู้ว่างงาน  จำนวน  ๓๔  คน   แยกเป็น

          9.1 กลุ่มอายุ  13 18  ปี        จำนวน  ๑๘  คน

9.2 กลุ่มอายุ  19   24  ปี       จำนวน    คน

9.3 กลุ่มอายุ  25  ปี ขึ้นไป        จำนวน   คน

 

10. หมู่บ้านมีรายได้  ๔๐,๐๐๐ บาท/ปี     รายจ่าย   ๓๘,๐๐๐ บาท/ปี

      มีหนี้สิน              บาท

 

11. รายได้เฉลี่ยของประชากร (ตามเกณฑ์  จปฐ.  ปีพ.ศ.๒๕๖๐) จำนวน                        บาท/คน/ปี

      ครัวเรือนยากจน(รายได้ไม่ถึง 30,000 บาท คน/ปี) ปีพ.ศ.๒๕๖๐  จำนวน  ครัวเรือน

 

12. จำนวนกลุ่มกิจกรรม / อาชีพ     มีจำนวน  ๒ กลุ่ม   ดังนี้

12.1 กลุ่ม อสม. จำนวนสมาชิก  ๑๓ คน

         12.2 กลุ่มสตรี จำนวนสมาชิก  ๑๐ คน

 

13.กองทุนในหมู่บ้าน   มีจำนวน    กองทุน  ดังนี้

          13.1 กองทุนหมู่บ้าน  มีงบประมาณ  ๑,๐๐๐,๐๐๐  บาท

 

14. ข้อมูลคมนาคม/สาธารณูปโภค

          14.1 การเดินทางเข้าหมู่บ้าน 

                   จากอำเภอสุไหงโก-ลก ใช้ทางหลวง สายสุไหงโก-ลก – ตากใบ ระยะทาง    กิโลเมตร  เลี้ยวซ้ายที่จุดตรวจบ้านน้ำตกเลี่ยงริมคลองชลประทาน ระยะทางประมาณ    กิโลเมตร ถึงบ้านลูโบ๊ะซามา เป็นต้น

 

             14.2  สาธารณูปโภค

-   มีไฟฟ้าครบทุกครัวเรือน

-   ประปาหมู่บ้าน    จำนวน    แห่ง

-   ที่อ่านหนังสือ  จำนวน      แห่ง

-   ป้อมชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน    แห่ง

             14.3   แหล่งน้ำ

                      แหล่งน้ำตามธรรมชาติ

                   -  ลำธาร   จำนวน ๑  แห่ง

                   -  คลอง     จำนวน    แห่ง

                    แหล่งน้ำที่สร้างขึ้นในหมู่บ้าน

                   - บ่อบาดาล   จำนวน  ๑  แห่ง

วันจันทร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2564

ส่วนที่ 2 การวิเคราะห์ข้อมูล

 ส่วนที่  2 การวิเคราะห์ข้อมูล

                  2.1  การวิเคราะห์ปัจจัยภายในหรือสภาพแวดล้อมภายใน จะทำให้หมู่บ้านทราบถึงความสามารถหรือความเป็นตัวตนของหมู่บ้าน
          (1) จุดอ่อนคือ ลักษณะหรือข้อด้อยของหมู่บ้านเมื่อเทียบกับหมู่บ้านอื่น
                   -  เส้นทางคมนาคมไม่สะดวก

                   -  ประชาชนมีหนี้สินนอกระบบ

                   -  การศึกษายังอยู่ในระดับต่ำ

                        •ด้านเศรษฐกิจ

-  รายได้ของครัวเรือนไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย

-  ประชาชนไม่มีการวางแผนในการดำเนินชีวิต

-  ประชาชนขาดความรู้ในการบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นที่ให้เกิดประโยชน์                                

•ด้านสังคม

            - เยาวชนในหมู่บ้านส่วนใหญ่นิยมตามกระแสมากขึ้น

          - ผู้สูงอายุบางคนจะไม่ค่อยให้ความร่วมมือกับสังคม

 

•ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

          -  เกษตรกรขาดความรู้ในการดูแลในพืชต่างๆ เพื่อเพิ่มผลผลิต ขาดความรู้ในเรื่องการจัดการ                   เพื่อให้มีรายได้เพิ่ม

 

•ด้านการเมืองและบริหารจัดการ

          - ประชาชนไม่เข้าใจเรื่องระบบประชาธิปไตย  ส่วนใหญ่จะตัดสินใจตามผู้อื่น  ไม่กล้าแสดง                     ความคิดเห็น

 

•   ด้านโครงสร้างพื้นฐาน

          -  ในหมู่บ้านยังมีถนน(ซอยต่างๆ)ที่เป็นดินแดง ดินลูกรัง ทำให้การสัญจรไปมาไม่สะดวก                                       โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน

•ด้านการเมืองและการบริหารจัดการ

                             -  ประชาชนในหมู่บ้านขาดความรู้ในเรื่องประชาธิปไตย ไม่กล้าแสดงออก  ไม่กล้าตัดสินใจเอง                          ชอบตามผู้อื่น

•   ด้านสาธารณสุข

          -  ในช่วงฤดูฝนประชาชนในหมู่บ้านต้องพบกับปัญหาการแพร่ระบาดของโรค

          -  ประชาชนไม่ค่อยใสใจในเรื่องขยะ  ทิ้งขยะไม่เป็นที่

          -  ประชาชนไม่ค่อยให้ความสำคัญกับความสะอาดบริเวณบ้าน

           (2) จุดแข็ง คือ ศักยภาพความสามารถหรือข้อเด่นของหมู่บ้านเมื่อเทียบกับหมู่บ้านอื่น
                                    มีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์(ป่าพรุโต๊ะแดง)

                             ตั้งอยู่ใกล้ตัวเมืองเศรษฐกิจและเมืองชายแดนระหว่างไทยกับมาเลเซีย

                   -  เป็นประตูผ่านเข้า-ออกแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญระดับประเทศ (ป่าพรุโต๊ะแดง)

                   -  เป็นเส้นทางคมนาคมระหว่างอำเภอสุไหงปาดีและอำเภอสุไหงโก-ลก

                   -  ประชาชนมีการประกอบอาชีพที่หลากหลาย

                   -  ประชาชนพูดได้ 2 ภาษา คือภาษามลายูท้องถิ่น และภาษาไทย

                             -  มีหน่วยกำลังรักษาความปลอดภัยในพื้นที่ที่เข้มแข็ง

                        •   ด้านเศรษฐกิจ

                    ชุมชนได้พัฒนาตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  กิจกรรมที่ดำเนินการของกลุ่มต่างๆ                        ดำเนินการตามแนวทางพอเพียงเพิ่มรายได้  และลดรายจ่าย

                    -  สนับสนุนให้ประชาชนในพื้นที่รู้จักการแปรรูปแป้งสาคู 

                    -  ส่งเสริมอาชีพเย็บจากปาล์มสาคู  เพื่อเพิ่มรายได้ 

                    -  ส่งเสริมการปลูกผักผสมผสาน

•ด้านสังคม

          -  เด็กและเยาวชนส่วนใหญ่กระตือรือร้น  และเอาใจใส่ด้านการศึกษามากขึ้น

          -  เยาวชนให้ความร่วมมือในกิจกรรมต่างๆ มากยิ่งขึ้น

 

•ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

          -  ในหมู่บ้านมีคลองชลประทาน ส่งผลให้มีแหล่งน้ำสำหรับทำการเกษตร

 

•ด้านการเมืองและการบริหารจัดการ

          -  ประชาชนมีความรัก ความสามัคคี

          -  ประชาชนช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

          -  ประชาชนให้ความร่วมมือในกิจกรรมต่างๆของหมู่บ้าน

•   ด้านโครงสร้างพื้นฐาน

                             ระบบสาธารณูปโภคของหมู่บ้านโดยส่วนใหญ่มีความพร้อม และสามารถสร้างความเป็นอยู่ที่ดี              เพิ่มมากยิ่งขึ้นรวมทั้งช่วยส่งเสริมให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นตามมา

•   ด้านสาธารณสุข

ประชาชนรู้จักวิธีการกำจัดขยะมูลฝอย หน่วยงานสาธารณสุขเข้าถึงในพื้นที่         

2.2 การวิเคราะห์ปัจจัยภายนอก หรือสภาพแวดล้อมภายนอก จะทำให้หมู่บ้านทราบถึงโอกาสและอุปสรรคการทำงานของหมู่บ้าน
                        (1) โอกาส
                                    -  เป็นแหล่งพักสินค้า ค้าขายระหว่างไทยกับมาเลเซีย

                             -  รวมกลุ่มจำหน่ายสินค้าชุมชนให้กับนักท่องเที่ยว

                             -  พัฒนาหมู่บ้านเป็นแหล่งท่องเทียวเชิงเศรษฐกิจพอเพียง

(2) อุปสรรค
                   
-  ขาดบุคลากรที่มีความรู้ในการพัฒนาหมู่บ้าน

          -  ราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ

 

2.3 วิสัยทัศน์(ทิศทางการพัฒนา)
                        ส่งเสริมอาชีพ  กระจายรายได้  มุ่งสู่หมู่บ้านเข้มแข็ง  ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

 

2.4 ยุทธศาสตร์

                                   ยุทธศาสตร์ที่ ๑  เสริมสร้างการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ตามแนว                              หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 

                             ยุทธศาสตร์ที่ ๒  ส่งเสริมการพัฒนาแบบมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ตามแบบ                  ระบอบประชาธิปไตย

                             ยุทธศาสตร์ที่ ๓ ส่งเสริมอาชีพและกระจายรายได้ในพื้นที่หมู่บ้าน

2.5 กลยุทธ์ 

          กลยุทธ์ที่ ๑  ประกอบด้วย  ๓  กลยุทธ์
                                              ๑. เสริมสร้างศักยภาพด้านอาชีพที่มีความมั่งคง

                             ๒. เสริมสร้างศักยภาพการพึ่งพาตนเอง  ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

                             ๓. ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่

                   เป้าประสงค์ = ประชาชนในพื้นที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น  สามารถพึ่งพาตนเองได้

 

          กลยุทธ์ ๒  ประกอบด้วย  ๓  กลยุทธ์

                             ๑. การเสริมสร้างศักยภาพผู้นำในพื้นที่  ตามระบอบประชาธิปไตย

                             ๒. การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่

                             ๓. การเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ ในการปกครองระบอบประชาธิปไตย

          เป้าประสงค์= ประชาชนในหมู่บ้านมีความเข้าใจในระบอบประชาธิปไตย  และรู้จักหน้าที่ของตนเอง

          กลยุทธ์ ๓  ประกอบด้วย  ๓  กลยุทธ์

                             ๑. เสริมสร้างศักยภาพด้านการเกษตร  ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

                             ๒. การพัฒนาและการเพิ่มมูลค่าสินค้าทางการเกษตร

                             ๓. การเสริมสร้างความรู้  และการพัฒนาด้านอาชีพอย่างยั่งยืน

                   เป้าประสงค์= ประชาชนในหมู่บ้านมีรายได้เพิ่มมากขึ้น

วันอาทิตย์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2564

ส่วนที่ 3 โครงการ/กิจกรรม ตามความต้องการของหมู่บ้าน

 3.1 โครงการ/กิจกรรม เรียงตามลำดับความสำคัญ 

ที่

ชื่อโครงการ

เป้าหมาย

งบประมาณ

วิธีการดำเนินการ

ประเภทของแผน

หน่วยงานดำเนินการ

1

โครงการขยายเขตประปาส่วนภูมิภาคในหมู่บ้านริมถนนด้านขวา

8

-

ทำให้

บริหาร

เทศบาล

2

โครงการคูระบายน้ำ ซอยมะแอปลา

8

-

ทำให้

บริหาร

เทศบาล

3

โครงการถนนคอนกรีต ซ.เจ๊ะอาลี พร้อมไฟส่องสว่าง

8

-

ทำให้

บริหาร

เทศบาล

4

โครงการซ่อมแซมถนนซอยโรงเรียนบ้านลูโบ๊ะซามา-ซอยมะแอปลา

8

-

ทำให้

บริหาร

เทศบาล

5

โครงการสร้างถนนคอนกรีตปิโย ระยะทาง ๘๐ เมตร

8

-

ทำให้

บริหาร

เทศบาล

6

โตรงการถนนคอนกรีตซอยเปาะนิอาซิ พร้อมไฟส่องสว่าง

8

-

ทำให้

บริหาร

เทศบาล

7

โครงการปรับปรุงซ่อมแซมประปาหมู่บ้าน

8

-

ทำให้

บริหาร

คณะกรรมการหมู่บ้าน

­8

โครงการถนนคอนกรีต ซอยอารง

8

-

ทำให้

บริหาร

เทศบาล

9

โครงการก่อสร้างถนน(ซอยอาแบโซ๊ะ)

8

๑๐๘,๐๐๐,๐๐๐

ทำให้

บริหาร

เทศบาล

10

โครงการจัดซื้อถังขยะขนาดใหญ่ในหมู่บ้าน

8

-

ทำให้

บริหาร

เทศบาล

11

โครงการส่งเสริมการเลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์

8

๔๐,๐๐๐

ทำให้

เศรษฐกิจ

ประมง

12

โครงการเมาลิดสัมพันธ์

8

๑๐,๐๐๐

ทำร่วม

สังคม

เทศบาล/หมู่บ้าน

13

โครงการึกอบรมคุณธรรมจริยธรรมให้กับเด็กและเยาวชน

8

๑๐,๐๐๐

ทำเอง

สังคม

หมู่บ้าน

14

โครงการส่งเสริมสุภาพผู้สูงอายุ  และผู้พิการ

8

๕๐,๐๐๐.-บาท

ทำให้

สังคม

เทศบาล

15

ส่งเสริมประเพณีวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น

8

๒๐,๐๐๐

ทำให้

สังคม

เทศบาล

16

โครงการส่งเสริมการประกอบอาชีพของประชาชน

8

-

ทำให้

เศรษฐกิจ

กษ/พช.

17

โครงการสนับสนุนการเกษตร

8

-

ทำให้

เศรษฐกิจ

กษ/กม.

18

โครงการซ่อมแซมชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน

8

๒๐,๐๐๐

ทำให้

ความมั่นคง

ศอ.บต.

19

โครงการบริหารจัดการขยะในพื้นที่

8

 

ทำให้

ทรัพยากร

เทศบาล

20

โครงการบำบัดน้ำเสีย

8

 

ทำให้

ทรัพยากร

เทศบาล

21

โครงการทำความสะอาดลำธารในหมู่บ้าน

8

 

ทำเอง

ทรัพยากร

หมู่บ้าน

22

โครงการพัฒนาสองข้างทาง

8

 

ทำเอง

ทรัพยากร

หมู่บ้าน

23

โครงการปลูกป่าทดแทน

8

 

ทำเอง

ทรัพยากร

หมู่บ้าน

24

โครงการทำความสะอาดกุโบร์

8

 

ทำเอง

ทรัพยากร

หมู่บ้าน

25

โครงการฝึกอบรมชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน

8

 

ทำให้

ความมั่นคง

อำเภอ/หมู่บ้าน

26

โครงการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ในการดูแลความปลอดภัยหมู่บ้าน

8

๒๐,๐๐๐

ทำให้

ความมั่นคง

ศอ.บต.

27

โครงการสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันปัญหายาเสพติด

8

๕๐,๐๐๐

ทำให้

ความมั่นคง

เทศบาล/หมู่บ้าน

28

โครงการการจัดการแข่งขันกีฬาเชื่อมความสามัคคี”ตาดีกาสัมพันธ์”

8

๘๐,๐๐๐

ทำให้

สังคม

ศอ.บต.

29

โครงการป้องกันภัยพิบัติในพื้นที่

8

๑๐,๐๐๐

ทำให้

ความมั่นคง

เทศบาล/หมู่บ้าน

30

โครงการฝึกอบรมคณะกรรมการหมู่บ้านในการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้าน

8

 

ทำให้

บริหาร

พช.

31

โครงการก่อสร้างถนนผิวจราจรคอนกรีตเสริมเหล็ก(สายเปาะนิอายิ)

8

,๖๓๑,๐๖

ทำให้

บริหาร

เทศบาล

32

โครงการติดตั้งเสียงตามสายในหมู่บ้าน

8

๗๐,๐๐๐

ทำให้

บริหาร

เทศบาล

33

โครงการสร้างอาคารเรียนฮาฟิส

8

๔๐,๐๐๐

ทำให้

สังคม

ศอ.บต./ประชาน

34

โครงการซ่อมแซมบ้านให้ผู้ด้อยโอกาส/ยากไร้

8

๑๕,๐๐๐

ทำให้

สังคม

ศปก.อ.

35

โครงการซ่อมแซมบ้านให้ผู้ยากไร้ตามโครงการนิคมสร้างตนเอง

8

๒๐,๐๐๐

ทำให้

สังคม

พมจ.


ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของหมู่บ้าน

  ส่วนที่ 1   ข้อมูลทั่วไปของหมู่บ้าน   ๒. ประวัติหมู่บ้าน           ประวัติความเป็นมา “ ลูโบ๊ะซามา ” เป็นชื่อหมู่บ้านหรือ “ กำปง ” ท...